อาการ เมากัญชา หรือ แพ้กัญชา เป็นอาการที่พบได้บ่อยมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่ประเทศไทยได้ปลกล็อค พืชกัญชา ให้พ้นจากสารเสพติดที่ให้โทษ แถมบางคนยังมีอาการจนถึงขั้นต้องเข้าโรงพยาบาลกันเลยทีเดียว จะเห็นได้ว่าหลังพืช กัญชา ถูกปลดล็อคแล้ว ประชาชนบางส่วนก็ได้ปลูกกัญชาได้ต้นสูงอย่างรวดเร็ว ส่วนร้านอาหารหรือร้านขายเครื่องดื่ม ก็ได้ตอบรับกระแสของ พืชกัญชา ด้วยการรังสรรค์เมนูกัญชา ออกมาวางจำหน่ายกันอย่างคึกคัก

และไม่ใช่แค่ในส่วนของอาหารเท่านั้นที่พืชกัญชา ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ในวงการแพทย์ โดยเฉพาะแพทย์ฉุกเฉิน ก็ต้องตั้งรับผู้ป่วยที่มีอาการแพ้กัญชาหรือรับกัญชามาเกินขนาดจนเกิดอาการผิดปกติด้วยเช่นกัน เพราะอย่าลืมว่าในกัญชาก็มีสาร THC ซึ่งเป็นสารเสพติดและสารเมา ที่ส่งผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ได้แม้จะใช้อย่างถูกวิธีก็ตาม ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย เรามาเช็กกันว่าอาการแพ้กัญชาหรือเมากัญชาเป็นแบบไหน แล้วถ้าเผลอรับกัญชาเข้าไปแล้วเกิดเมาหรือแพ้เราควรแก้ยังไงดี

ใช้กัญชารูปแบบไหนถึงจะได้รับประโยชน์สูงสุด ?

กัญชามีจุดเด่นในการแพทย์แผนไทย และตำรับอาหารมาตั้งแต่สมัยโบราณ และกัญชาก็มีรสเมา มีกลิ่นเหม็นเขียว ยาแผนไทยใช้กัญชาเป็นยาระงับความอยากอาหาร เป็นยาชูกำลัง แต่ทำให้ใจสั่น ดอกกัญชาเป็นยาแก้ปวดเส้นประสาท และการนอนไม่หลับต่างๆ

นอกจากนี้สรรพคุณ กัญชาทางการแพทย์ ที่มีงานศึกษาวิจัยหลายชิ้นในต่างประเทศ พบว่า มีสรรพคุณเด่นเรื่องการช่วย คลายเครียด และบรรเทาความวิตกกังวลได้ และมีส่วนช่วยรักษา และบรรเทาอาการของโรคร้ายแรงได้หลายโรค  ได้แก่ 

  • ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน จากการได้รับเคมีบำบัด
  • เพิ่มความอยากอาหาร ในผู้ป่วยมะเร็งและเอดส์
  • ลดอาการปวด ทั้งแบบฉับพลันและเรื้อรัง
  • ช่วยควบคุมอาการลมชัก 
  • ลดความดันในตาของผู้ป่วยต้อหิน
  • ป้องกันและรักษาอาการสมองฝ่อ

บริโภค พืชกัญชา อย่างไรให้ถูกต้อง ?

กรมอนามัยได้แนะนำปริมาณใบกัญชาต่อเมนู ไว้ในประกาศกรมอนามัย เรื่อง การนำใบกัญชามาใช้ในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหารในสถานประกอบกิจการอาหาร พ.ศ. 2565 ดังนี้

  • อาหารประเภททอด : ใช้ใบกัญชา 1-2 ใบสด กรณีทำไข่เจียว แนะนำครึ่งใบ ถึง 1 ใบสด เนื่องจากสาร THC และ CBD ละลายได้ดีในน้ำมัน
  • อาหารประเภทผัด : ใช้ใบกัญชา 1 ใบสด
  • อาหารประเภทแกง : ใช้ใบกัญชา 1 ใบสด
  • อาหารประเภทต้ม : ใช้ใบกัญชา 1 ใบสด
  • ผสมในเครื่องดื่ม ขนาด 200 มิลลิลิตร : ใช้ใบกัญชา 1 ใบสด

โดยผู้ที่ต้องระมัดระวังในการรับประทานพืช กัญชา คือ 

  • เด็ก เยาวชน ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี อาจเกิดภาวะเสพติดได้
  • ผู้สูงอายุ
  • หญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร รวมทั้งผู้หญิงที่วางแผนกำลังจะมีบุตร
  • ผู้มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะผู้ที่ตับและไตบกพร่อง ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ผู้ที่ใช้ยาวาร์ฟารินหรือยาละลายลิ่มเลือดเป็นประจำ เพราะกัญชาจะไปเพิ่มฤทธิ์ให้ยาวาร์ฟารินจนเป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • ผู้ใช้ยาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยารักษากลุ่มโรคทางจิตเวช

วิธีสังเกตุอาการ แพ้กัญชา , เมากัญชา พร้อมวิธีรักษาเบื้องต้น

ถึงแม้ว่าพืชกัญชา จะมีสรรพคุณมากมาย แต่ใช่ว่าใครก็จะสามารถกินได้ เพราะในพืช กัญชามีสาร THC ที่จะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง คือ มีฤทธิ์ต่อสมองและทำให้ร่างกายอารมณ์ และจิตใจเปลี่ยนแปลงไป ผู้เริ่มกินเมนูกัญชาควรเริ่มในปริมาณน้อย แค่ครึ่งใบ – 1 ใบต่อวันก่อน

ทั้งนี้ การตอบสนองของร่างกาย เมื่อได้รับกัญชา จะมีความแตกต่างกันแต่ละบุคคล ดังนั้น ควรสังเกตอาการตนเองทุกครั้งเมื่อใช้ 1 – 3 ชั่วโมง โดยให้เน้นใช้เพื่อการแพทย์ในการรักษาโรคเท่านั้น สำหรับอาการผิดปกติที่พบบ่อย ได้แก่ ง่วงนอนมากกว่าปกติ, ปากแห้ง,  คอแห้ง, วิงเวียนศีรษะ, คลื่นไส้อาเจียน

อาการที่ควรไปพบแพทย์ เมื่อมีอาการ เมากัญชา หรือแพ้กัญชา

อาการผิดปกติที่ควรไปพบแพทย์ ได้แก่ หัวใจเต้นเร็วและรัวผิดจังหวะ,  เป็นลมหมดสติ, เจ็บหน้าอกร้าวไปที่แขน, เหงื่อแตก ตัวสั่น, อึดอัดหายใจไม่ออก, เดินเซ พูดไม่ชัด สับสน, กระวนกระวาย, วิตกกังวล หวาดระแวงไม่สมเหตุสมผล, หูแว่ว เห็นภาพหลอน, พูดคนเดียว, อารมณ์แปรปรวน

เมากัญชา

เมากัญชา ?

หลังจากที่ปลดล็อคกัญชา ในช่วงที่ผ่านมา กัญชาก็ได้รับกระแสตอบรับอย่างดี หนึ่งสิ่งที่น่าห่วงคือผู้ที่ไม่เคยใช้และต้องการลองหากลองในปริมาณที่มาก อาจจะส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้ ผู้ที่ใช้กัญชาครั้งแรกในรูปแบบยาและอาหารควรเริ่มรับประทานในปริมาณน้อยๆ เพื่อสังเกตอาการตอบสนองต่อกัญชาของตัวเอง 

อาการหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้คือ อาการเมากัญชา อาการที่ตอบสนองจะมากหรือน้อยอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยข้อมูลจากสถาบันกัญชาทางการแพทย์  มีข้อสังเกตและข้อแนะนำเมื่อเกิดอาการเมากัญชาไว้ดังนี้ 

  • ง่วงนอนมากกว่าปกติ
  • ปากแห้ง คอแห้ง
  • วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน
  • หัวใจเต้นเร็ว และรัวผิดจังหวะ
  • เป็นลม หรือ หมดสติ
  • เจ็บหน้าอก ร้าวไปที่แขน
  • เหงื่อแตก ตัวสั่น
  • อึดอัด หายใจไม่ค่อยสะดวก
  • เดินเซ พูดไม่ค่อยชัด
  • สับสน กระวนกระวาย วิตกกังวล หวาดระแวงไม่สมเหตุสมผล
  • หูแว่ว เห็นภาพหลอน พูดคนเดียว อารมณ์แปรปรวน

การปฏิบัติตัวเมื่อได้รับกัญชาที่เป็นจำนวนมาก และมีอาการเมาจนเกินไป หรือเกิดอาการแพ้ขึ้นมา ให้หยุดการใช้กัญชาและปฏิบัติได้ตามนี้

  • ดื่มน้ำเปล่าให้เยอะๆ ค่อยๆดื่มไม่ต้องรีบ
  • ใช้ใบรางจืด 10  ใบ ใบเตย 3 ใบ ( หากไม่มีใบเตยไม่ต้องใช้ได้ ) ล้างให้สะอาด ใส่น้ำสะอาด 1 ลิตร ต้มเดือด 15 นาที กรองเอากากออก ดื่มอุ่น ๆ วันละ 4 -5 ครั้ง หรือดื่มจนกว่าอาการดีขึ้น
  • ชงชารางจืด 2-3 กรัม ( 1ซองชา ) กับน้ำอุ่น 120 – 200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง   ก่อนอาหาร หรือเมื่อมีอาการ
  • ขิง สามารถรับประทานชาชงขิงหรือน้ำขิง 1 แก้ว ( 250 มิลลิลิตร )
  • มะนาว บีบน้ำมะนาว ผสมเกลือเล็กน้อย / ผสมน้ำผึ้งจิบหรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก เคี้ยวกิน 
  • พริกไทย หากมีอาการเมา ให้เคี้ยวพริกไทย
  • เกลือ ใช้เกลือ 1 หยิบมือ อมไว้ใต้ลิ้น แล้วนอนพัก 
เมากัญชา

THC คืออะไร ?

มีการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับสินค้าในช่วงเวลานี้ สารประกอบกัญชามีขายในร้านค้ามากขึ้น ซึ่งบนฉลากผลิตภัณฑ์คุณจะพบสาร 2 ชนิดคือ Delta-9 – Tetrahydrocannabinol (THC) และ Cannabidiol (CBD) นั่นเอง คุณเคยคิดเกี่ยวกับมันหรือไม่? ถ้าเรากินเข้าไปจะส่งผลอย่างไร? ดีและไม่ดีและวันนี้เราจะพาคุณมาทำความเข้าใจกับสารมหัศจรรย์นี้

สาร THC เป็นหนึ่งในสาร แคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) เป็นกลุ่มสารที่พบได้ในพืชกัญชา ที่มีสารอยู่หลากหลายชนิด และชนิดที่มีข้อมูลว่าถูกใช้ในทางการแพทย์มากมีสองชนิดคือ Tetrahydrocannabinol (THC) และ Cannabidiol (CBD) พบได้ทั้งในกัญชาและกัญชง

และโดยส่วนมากแล้ว ต้นกัญชง จะมีสาร CBD มากกว่าในขณะที่สาาร THC จะพบได้มากในต้นกัญชา อีกทั้งพืชกัญชาแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีระดับของสาร THC และ CBD ที่แตกต่างกันออกไป ขณะเดียวกันเทคนิคการปลูกก็มีผลต่อระดับของสารในพืชกัญชาด้วยเช่นกัน

Tetrahydrocannabinol (THC)

หากได้รับสาร Delta-9-Tetrahydrocannabinol (THC) ในขนาดที่เหมาะสม จะออกฤทธิ์ ลดอาการปวด เกร็ง ของกล้ามเนื้อ ลดอาการเคลื่อนไส้ ถ้าหากได้รับในปริมาณสูงมาก จะออกฤทธิ์ ทำให้เมา ใจสั่น หน้ามืด เห็นภาพหลอน รบกวนการทำงานของสารเคมีในสมอง ทำให้การรับรู้เพี้ยน การตัดสินใจและมีผลต่อความจำ และหากได้รับในปริมาณที่สูงอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดภาวะการดื้อต่อสาร Tolerance ทำให้ต้องเพิ่มขนาดจึงจะได้ผลเท่าเดิมและเกิดการติดยาต่อเนื่องได้